วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
อ้างอิง
ข้อมูลภาพเคลื่อนไหวจากเว็บไซต์ Athens 2004 (http://www.athens2004.com)หน่วยศึกษานิเทศน์, สำนักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2541.
การกำหนดเวลาให้ยก
การยกท่าคลีนแอนด์เจอร์คCLEAN & JERK
เป็นการยก 2 แบบ รวมอยู่เป็นท่าเดียวกัน การคลีน ให้นักกีฬาใช้มือทั้งสองข้างจับคาน (บาร์) แล้วดึงหรือยกขึ้นเป็นจังหวะเดียวให้บาร์เบลขึ้นไปพักที่แนวไหล่ แล้วยืนขึ้น อยู่ในท่านิ่งเพื่อทำท่าเจอร์คต่อไป การเจอร์ค คือการดันบาร์เบลด้วยการเหยียดแขนให้เป็นจังหวะเดียว ให้บาร์เบลขึ้นไปอยู่เหนือศรีษะ นักกีฬาอาจจะย่อเข่าแล้ว สปริงข้อเท้าเหยียดขึ้นเพื่อเป็นแรงส่งการดันบาร์เบล หลังจากนั้นค่อยๆ เก็บเท้าให้อยู่ในแนวเดียวกันกับลำตัวและบาร์เบล ซึ่งถือเป็นท่าเสร็จสมบูรณ์ ข้อผิดกติกาบ่อยๆ เช่น
- ดึงบาร์เบลจากท่าแขวน
- ขณะคลีนข้อศอกสัมผัสกับเข่าหรือขา
- ขณะคลีนเข่าหรือกันสัมผัสกับพื้น
- จงใจเขย่าหรือสั่นบาร์เบลเพื่อประโยชน์ในการเจอร์ค
- งอข้อศอกหรือเหยียดแขนระหว่างการยกยังไม่สำเร็จ
- วางบาร์เบลลงก่อนได้รับสัญญาณจากผู้ตัดสิน
- ปล่อยมือหรือทิ้งบาร์เบลลงด้านหลังของนักกีฬา
- ปล่อยมือจากบาร์เบล ขณะที่บาร์เบลอยู่เหนือกว่าระดับเอว
ลำดับการเรียกนักกีฬาขึ้นยก
เพื่อความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ใส่น้ำหนักเหล็ก จึงกำหนดให้ "กรรมการจัดลำดับการยก" ประกาศเรียกนักกีฬาที่ขอน้ำหนักของบาร์ เบล ที่มีน้ำหนักน้อยกว่าคนอื่นๆ ขึ้นยกก่อน เมื่อการแข่งขันดำเนินต่อๆ ไป จะปรากฎว่า น้ำหนักของบาร์เบลบนเวทีจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น เรื่อยๆ สรุป คนที่ไม่ค่อยเก่ง ยกได้น้อยจะถูกเรียกขึ้นยกก่อน คนเก่งๆ ยกได้มากๆ จะถูกเรียกขึ้นยกตอนท้ายๆ แต่ละคนจะมีสิทธิ์ได้ยกคนละ 3 ครั้ง ของแต่ละท่า เคยปรากฎบ่อยๆ ว่าคนเก่งๆ ได้ยกเป็น คนสุดท้ายแต่ทำผิดกติกาฟาวล์ทั้ง 3 ครั้ง ก็ไม่ได้รับรางวัลอะไรเลย
การยกท่าสแนทซ์ (SNATCH)
ให้นักกีฬาใช้มือทั้ง 2 ข้าง จับคาน (บาร์) แล้วดึงหรือยกขึ้นเป็นจังหวะเดียวให้แขนทั้งสองเหยียดตรงขึ้นเหนือศรีษะ นักกีฬาอาจ จะแยกเท้าหรือย่อเข่าเพื่อการทรงตัวและรับน้ำหนักของบาร์เบลแล้วยืนขึ้นอยู่ในท่านิ่งให้เท้าทั้งสองข้างลำตัวและบาร์เบลอยู่ในแนว ดียวกันซึ่งถือเป็นท่าที่เสร็จสมบูรณ์
ข้อที่ผิดกติกาบ่อยๆ เช่น
- การดึงบาร์เบลจากท่าแขวน คือ ดึงบาร์เบลจากท่าแขวน คือ ดึงบาร์เบลขึ้นมาแล้วหยุดชะงักแล้วดึงต่อ (เป็นแบบ 2 จังหวะ)
- หัวเข่าหรือก้นสัมผัสกับพื้น
- หยุดชะงักระหว่างเหยียดแขน
- ไม่เหยียดแขนสุด เมื่อยกได้สำเร็จ
- วางบาร์เบลลงก่อน ได้รับสัญญาณจากผู้ตัดสิน
- ปล่อยหรือทิ้งบาร์เบลลงด้านหลังของนักกีฬา
- ปล่อยมือจากบาร์เบลขณะที่บาร์เบลอยู่เหนือระดับเอว ฯลฯ
ข้อที่ผิดกติกาบ่อยๆ เช่น
- การดึงบาร์เบลจากท่าแขวน คือ ดึงบาร์เบลจากท่าแขวน คือ ดึงบาร์เบลขึ้นมาแล้วหยุดชะงักแล้วดึงต่อ (เป็นแบบ 2 จังหวะ)
- หัวเข่าหรือก้นสัมผัสกับพื้น
- หยุดชะงักระหว่างเหยียดแขน
- ไม่เหยียดแขนสุด เมื่อยกได้สำเร็จ
- วางบาร์เบลลงก่อน ได้รับสัญญาณจากผู้ตัดสิน
- ปล่อยหรือทิ้งบาร์เบลลงด้านหลังของนักกีฬา
- ปล่อยมือจากบาร์เบลขณะที่บาร์เบลอยู่เหนือระดับเอว ฯลฯ
การจัดลำดับที่ของการแข่งขัน (ผลการแข่งขัน)
การตัดสินกีฬายกน้ำหนัก
1.กำหนดให้มีผู้ตัดสิน 3 คน ทำหน้าที่ให้คำตัดสินภายใต้การควบคุมของ คณะกรรมการควบคุมการแข่งขัน
2.เมื่อนักกีฬายกถึงท่าเสร็จสมบูรณ์ ผู้ตัดสินแต่ละคนจะวินิจฉัยให้คำตัดสินของตนเองอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ - ก. ถ้าเห็นว่าถูกกติกา จะให้สัญญาณไฟ สีขาว - ข. ถ้าเห็นว่าผิดกติกา จะให้สัญญาณไฟ สีแดง
3. ถ้าผู้ตัดสินคนใด พิจารณาเห็นว่า ขณะนักกีฬากำลังทำการยกได้ทำผิดกติกาให้ตัดสินด้วยสัญญาณไฟสีแดงได้ทันที 4. สรุปคำตัดสิน ให้ใช้คะแนนเสียงส่วนใหญ่ของผู้ตัดสินทั้ง 3 คน
2.เมื่อนักกีฬายกถึงท่าเสร็จสมบูรณ์ ผู้ตัดสินแต่ละคนจะวินิจฉัยให้คำตัดสินของตนเองอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ - ก. ถ้าเห็นว่าถูกกติกา จะให้สัญญาณไฟ สีขาว - ข. ถ้าเห็นว่าผิดกติกา จะให้สัญญาณไฟ สีแดง
3. ถ้าผู้ตัดสินคนใด พิจารณาเห็นว่า ขณะนักกีฬากำลังทำการยกได้ทำผิดกติกาให้ตัดสินด้วยสัญญาณไฟสีแดงได้ทันที 4. สรุปคำตัดสิน ให้ใช้คะแนนเสียงส่วนใหญ่ของผู้ตัดสินทั้ง 3 คน
การกำหนดพิกัดรุ่นกีฬายกน้ำหนัก
พิกัดรุ่นมาตรฐาน
ประเภทหญิง (มี 7 รุ่น)
1. รุ่น48กิโลกรัม
2. รุ่น53กิโลกรัม
3. รุ่น58กิโลกรัม
4. รุ่น63กิโลกรัม
5. รุ่น69กิโลกรัม
6รุ่น 75กิโลกรัม
7. รุ่นเกิน75กิโลกรัม
ประเภทชาย (มี 8 รุ่น)
1.รุ่น56กิโลกรัม
1.รุ่น56กิโลกรัม
2. รุ่น62กิโลกรัม
3.รุjน69กิโลกรัม
4. รุ่น77กิโลกรัม
5. รุ่น85กิโลกรัม
6. รุ่น94กิโลกรัม
7. รุ่น105กิโลกรัม
8. รุ่นเกิน105กิโลกรัม
วิธีการจัดการแข่งขัน
กีฬายกน้ำหนัก จะมีการยกแข่งขันแยกเป็น 2 ท่า คือ ท่าสแนทซ์ และทำคลีนแอนด์เจอร์ด เมื่อเริ่มแข่งขัน จะทำการแข่งขันท่าสแนทซ์ก่อน นักกีฬาแต่ละคนจะมีสิทธิ์ยกไม่เกิน 3 ครั้ง เสร็จแล้วจะมีเวลาพัก 5 นาที จึงทำการแข่งขันท่าคลีนแอนด์เจอร์ดต่ออีกคนละไม่เกิน 3 ครั้งเป็นการเสร็จสิ้นการแข่งขัน เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันแล้วให้จัดลำดับที่เพื่อรับรางวัลรวม 3 รายการคือ
1. ลำดับที่ 1-2-3 ของท่าสแนทซ์
2. ลำดับที่ 1-2-3 ของท่าคลีนแอนด์เจอร์ด
3. ลำดับที่ 1-2-3 ของสถิติโอลิมปิกโตเติล
รายการที่ 3 นี้ ไม่มีการแข่งขัน แต่ได้มาจากการเอาสถิติของทั้ง 2 ท่าแรกมารวมกันแล้วจัดลำดับที่ เพื่อได้รับรางวัล
ความเป็นมาของกีฬายกน้ำหนัก
กีฬายกน้ำหนัก ได้ถูกพัฒนามาเป็นลำดับ โดยธรรมชาติของมนุษย์เรามักจะแสดงให้คนอื่นๆ เห็นว่าตัวเองเป็นคนทีมีร่างกายแข็งแรงกว่าคนอื่นๆ จนมีการประลองการยกสิ่งของต่างๆ เช่น ยกก้อนหิน ยกเหล็ก ยกเสาไม้ เป็นต้น ในช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 18 มีกีฬาหลายชนิดเกิดขึ้น รวมทั้งกีฬายกน้ำหนักที่มีการกำหนดกฎกติกา เพื่อให้การแข่งขันเกิดความยุติธรรมและสนุกสนานยิ่งขึ้น มีการแพร่ขยายการเล่นไปตามประเทศต่างๆในทวีปยุโรป และมีการจัดการแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งโลกเป็นครั้งแรก ณ กรุงลอนดอน ใน ค.ศ. 1891 ครั้งสุดท้ายมีการจัดแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งโลก ครั้งที่ 73 (ชาย) ครั้งที่ 18 (หญิง) ณ เมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา เมื่อ ค.ศ. 2003 จะเห็นว่ากีฬายกน้ำหนักเป็นกีฬาชนิดหนึ่ง ที่นิยมเล่นและแข่งขันมามากกว่า 100 ปี ในประเทศไทย มีการเล่นกีฬายกน้ำหนักกว่า 50 ปีแล้ว มีการบันทึกเป็นทางการว่า สมาคมยกน้ำหนักฯ ได้ก่อตั้งมา เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2501 มีการจัดการแข่งขันทั้งภายในประเทศและต่างประเทศจนทำให้นักกีฬายกน้ำหนักของไทยมีความสามารถติด อันดับแชมเปี้ยนโลกหลายคน เช่น 1. ชัยยะ สุขจินดา 2.สง่า วังศิริ 3.วาสนา ปุจฉาการ 4.เกษราภรณ์ สุดา 5.ปวีณา ทองสุก 6.อุดมพร พลศักดิ์ 7.จันทร์พิมพ์ กันทะเตียน 8.อารีย์ วิรัฐถาวร
ยินดีเข้าสู่ web blog กีฬา โดย วรินทรนร์ เอี่ยมสอาด
ยินดีเข้าสู่ web blog กีฬา โดย วรินทรนร์ เอี่ยมสอาด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)